ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ขอใบเสนอราคาตรวจสอบอาคาร
dot
bulletคลิกที่นี่ !!
dot
บริการของเรา
dot
bulletระบบบำบัดน้ำเสีย ,น้ำดี
bulletระบบกำจัดขยะ
bulletการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
bulletงานตรวจสอบอาคาร
bulletอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบบำบัด
bulletการบำรุงรักษาระบบบำบัด
bulletระบบบำบัดอากาศ
dot
งานตรวจสอบอาคาร
dot
bulletหน้าที่ผู้ตรวจสอบอาคาร
bulletอาคารที่ต้องตรวจสอบ
bulletกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
bulletรายละเอียดการตรวจสอบ
dot
การบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ
dot
bulletการบำบัดน้ำเสีย
bulletน้ำดีไล่น้ำเสีย
bulletกังหันน้ำชัยพัฒนา
dot
สาระน่ารู้ด้านสิ่งแวดล้อม
dot
bullet10 วิธีแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
bulletภาวะโลกร้อนคืออะไร
bulletการลดลงของโอโซน
dot
Login

dot


สภาวิศวกร
ปัญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุด
กรมโรงงานอุตสาหกรรม


การบำรุงรักษาระบบบำบัด


น้ำดีไล่น้ำเสียarticle


หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจาง (Dilution) ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมา
จากพระราชดำริ"น้ำดีไล่น้ำเสีย"โดยใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow)
                 การใช้น้ำคุณภาพดีมาช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสียหรือที่เรียกกันว่า "น้ำดีไล่น้ำเสีย" นั้น ได้แก่ การใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยผลักดันน้ำเน่าเสียออกไปและช่วยให้น้ำเน่าเสียมีสภาพเจือจางลง ทั้งนี้โดยรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือจากแหล่งน้ำภายนอกส่งไปตามคลองต่างๆ เช่น คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์ หรือคลองบางลำพู ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งกระแสน้ำจะไหลแผ่กระจายขยายไปตามคลองซอยที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง ดังนั้นเมื่อการกำหนดดวงรอบเกี่ยวกับการไหลของน้ำไปตามคลองต่างๆ นับแต่ปากคลองที่น้ำไหลเข้ามาจนถึงปลายคลองที่น้ำไหลออกได้อย่างเหมาะสม โดยที่น้ำสามารถไหลเวียนไปตามลำคลองได้ตลอดแล้ว ย่อมสามารถเจือจางน้ำเน่าเสียและชักพาสิ่งโสโครก ซึ่งจะเป็นวิธีการช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสียในคลองต่างๆ ตอนช่วงฤดูแล้งได้อย่างดี

                เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปทอดพระเนตรสภาพน้ำเน่าเสียตามคลองต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครที่บริเวณประตูระบายน้ำปากคลองเทเวศร์ คลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว ซึ่งในครั้งนั้นได้พระราชทานพระราชดำริว่า
                ....การจัดระบบควบคุมระดับน้ำในคลองสายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดระบบระบายน้ำในกรุงเทพมหานครนั้น สมควรวางระบบให้ถูกต้องตามสภาพการณ์และลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งควรแข่งออกเป็น 2 แผนด้วยกัน คือแผนสำหรับใช้กับในฤดูฝนหรือในฤดูน้ำมากนี้ ก็เพื่อประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วมและเพื่อบรรเทาอุทกภัยเป็นสำคัญแต่แผนกระบายน้ำในฤดูแล้งนั้นก็ต้องจัดอีกแบบหนึ่งต่างกันไป เพื่อการกำจัดหรือไล่น้ำเน่าเสียออกจากคลองดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งทั้งสองระบบนี้ควรจะพิจารณาถึงวิธีการระบายน้ำ โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการควบคุมระดับน้ำตามลำคลองเหล่านี้....
                จากแนวพระราชดำริดังกล่าวจึงบังเกิดกรรมวิธีในการบำบัดน้ำเสีย 2 ประการตามแนวพระราชดำริ "น้ำดีไล่น้ำเสีย" คือ
                วิธีที่หนึ่ง
                ให้เปิดประตูอาคารควบคุมน้ำรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงจังหวะน้ำขึ้น และระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนระยะน้ำลง ซึ่งมีผลทำให้น้ำตามลำคลองมีโอกาสไหลถ่ายเทกันไปมามากขึ้นกว่าเดิม เกิดมีการหมุนเวียนของน้ำที่มีสภาพเน่าเสีย กลิ่นเหม็น กลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีขึ้น
                วิธีที่สอง
                เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปทอดพระเนตรที่บริเวณปากคลองเปรมประชากร ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งเลียบคลองเปรมประชากร ตลอดช่วงคลองตอนบนถึงคลองรังสิต กระทั่งถึงปากคลองวัดหลักสี่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย ว่า
                .....คลองเปรมประชากรช่วงตอนล่างเป็นคลองสายหนึ่งที่สามารถรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปช่วยบรรเทาน้ำเสีย โดยส่งกระจายไปตามคลองต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร จึงควรขุดลอกคลองนี้พร้อมกำจัดวัชพืชเพื่อให้เป็นคลองสายหลักในการผันน้ำคุณภาพดีไปช่วยบรรเทาให้น้ำเสียให้เจือจางลง...
                ....ให้หาวิธีรับน้ำเข้าคลองเปรมประชากรตอนบนเป็นปริมาณมากภายในเวลาอันรวดเร็วเพื่ออัดเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นจะได้สามารถกระจายน้ำเข้าทุ่งบางไทร-บางปะอิน สำหรับใช้เพาะปลูกอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามจะต้องดำเนินการขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติไปพร้อมกัน จะได้สามารถเก็บสำรองน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ สำหรับเส้นทางน้ำที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นอื่นๆ เช่น คลองเชียงรากน้อยนั้น ต้องรีบรับน้ำเข้ามาเมื่อน้ำขึ้นและปิดประตูบังคับน้ำไม่ให้ไหลย้อนกลับเมื่อน้ำลง ทั้งนี้เพื่อเก็บกักน้ำคลองเปรมประชากรตอนบนในลักษณะ "อ่างเก็บน้ำ" เพื่อใช้ผลักดันน้ำเน่าเสียในคลองเปรมประชากรตอนล่างต่อไป....
                แนวพระราชดำริสองประการนี้ แสดงถึงพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงเชี่ยวชาญในด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ในเรื่องนี้ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยที่ประจำการในต่างประเทศ 77 นาย เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานนั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสว่า
                .....Notorious Problem Ecology ของกรุงเทพฯ ที่เราก็ต้องการแก้ไขมาตั้งเท่าไร 8-9 ปี แล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำ เพิ่งมาทำเอาเมื่อปีที่แล้ว คือว่า เรามีกำลังที่ได้มาโดยเปล่าฟรี ไม่ต้องใช้ไบโอโลจิคอลซีสเต็ม (Biological System) ก็มีพลังของแสงอาทิตย์ พลังของพระอาทิตย์กับพระจันทร์ร่วมกัน คือน้ำขึ้นลงเวลานี้ขึ้นในแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำเจ้าพระยาจะขึ้นจนเลยนนทบุรีเลยปทุมธานีไปเกือบถึงอยุธยา
เวลาน้ำขึ้นก็ขึ้นไปถึงโน่น เวลาน้ำลงก็ลงไปในทะเล.... แถวเทเวศร์ เวลาน้ำขึ้นประมาณ 1 เมตร เวลาน้ำลงประมาณ 1 เมตร รวมแล้ว 2 เมตร ความแตกต่างหมายความว่าถ้าเราทำอะไรด้วยกำลังของน้ำที่ขึ้นและลงนี่ก็จะได้กำไรมากขึ้น เมื่อ 8 ปีแล้ว 9 ปี ไปที่ปากคลองเทเวศร์ คลองเทเวศร์นี้ก็ผ่านกรุงเกษม แล้วไปออกที่โรงแรมรอยัลออคิดฯ ตรงนั้นทำประตูน้ำแต่ก็ปิดเอาไว้ น้ำในคลองเทเวศร์ก็โสโครก เด็กจะลงในน้ำเป็นอหิวาต์ทั้งนั้น แล้วก็ไปบอกว่าขอใช้ไฟฟ้าสักนิดได้มั๊ย ใช้ไฟฟ้าเปิดประตูตอนนั้นน้ำขึ้น....เวลานั้นเดือนเมษายน ฝนก็ไม่ตก ก็เปิด เวลานั้น เป็นวันที่ 30 เมษายน 2529 เปิดประตูน้ำก็ฟู่เข้าไป เพราะว่าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็นับว่าใช้ได้เข้าไปในคลองเทเวศร์ซึ่งดำเมี่ยม เวลาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงไปด้วยน้ำลง ถึงจังหวะน้ำลงก็ปิด น้ำนี่ก็ไหลไปที่อื่นไม่ได้ไหลไปปากคลองตลอาดไหลไปมันก็ไล่น้ำโสโครกไปอย่างนี้ทุกวัน แต่เวลาน้ำขึ้นน้ำลง เขาก็บอกว่ามีโทรศัพท์ที่จุดปากคลองเขาก็มีให้โทรศัพท์ไปที่อุทกศาสตร์ ว่าเวลานั้นเวลาไหนน้ำขึ้นน้ำลง เวลาน้ำขึ้นเต็มที่เปิด เวลาน้ำลงปิด ทางโน้นตรงกันข้ามเวลาน้ำขึ้นปิด ภายในไม่กี่วันผ่านผดุงกรุงเกษมกับคลองเทเวศร์ เด็กฉลองสงกรานต์ว่ายน้ำสบายเลย สนุกสนานและไม่เป็นโรคเพราะว่าน้ำสะอาด เสียเงินนิดเดียวค่าไฟฟ้าสำหรับเปิดประตูน้ำไม่ต้องสูบ.....
                พระราชดำริบำบัดน้ำเสียโดยหลักการนี้เป็นวิธีที่ง่ายประหยัดพลังงาน และสามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลา ซึ่งแสดงถึงพระปรีชาสามารถอันสูงยิ่งในพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงทุ่มเท เพื่อความสุขของปวงชนทั้งหลาย
                                                                                                                                                                                                                                แหล่งที่มา/มูลนิธิชัยพัฒนา
หน้า 1/1
1
[Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท เอ็นทูเอส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ชั้น 2 อาคารเอ็นทูเอส เลขที่ 134 ซ.รามอินทรา65 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน
จังหวัดกรุงเทพ รหัสไปรษณีย์ 10230
เบอร์โทร 02-0016868-9 Fax:02-0016869 Mobile :093-9419397,099-2493991br /> อีเมล : n2sengineering@yahoo.com
www.n2sengineering.com